วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Use Google Translate to write articles in English

มาใช้ Google Translate มาเขียนบทความภาษาอังกฤษกันเถอะ

กฏข้อที่ 1 ใช้คำง่ายๆ
ภาษาอังกฤษมีตัวอักษร 26 ตัว เทียบกับภาษาไทย 44 ตัว แค่เรื่องจำนวนมันก็ต่างกันคนล่ะชั้นแล้วครับ
คำศัพท์ของไทยเรานั้น มีมากมายจน GGT (Google Translate) ไม่สามารถจดจำได้หมด คำเดียวกันแต่มีวาระการใช้ต่างกันมากมายหลายแบบ ต่างจากภาษาอังกฤษ ซึ่งภาษาพูดของเขานั้น ใช้กันอยู่ไม่ถึงพันคำ วนไปวนมา ไอ้นั่นสลับไอ้นี่ ก็สื่อสารกันได้เข้าใจแล้ว

ดังนั้น เวลาจะหลอกใช้น้องเค้า ก็ให้เราคิดว่าพูดกับ Computer ที่ฉลาดน้อยกว่าเรา ใช้คำง่าย ๆ แปลได้ตรง ๆ แต่รวมแล้วสื่อความหมายเข้าใจ ไม่ต้องเน้นคำแสดงอารมณ์ ไอ้คำประเภท “โอ้โห มันสุดยอดมาก ๆ เลย นะครับ เจ๋งไปเลย คุ้มสุด ๆ” แบบนี้แปลยังไงก็สื่อกันไม่เข้าใจ

ลดคำลดอารมณ์ลงมาเหลือแค่ “ผมคิดว่ามันดีมาก” ,   “ผมคิดว่ามันคุ้มค่ามาก”, “ผมชอบมันมาก”
ดู ทื่อ ๆ แข็ง ๆ ไร้อารมณ์ เหมือน คอมพิวเตอร์ในหนังที่ซึ่งมักจะสื่ออารมณ์ออกมาเยี่ยงนี้  ใครไม่เข้าใจอารมณ์คอมพิวเตอร์ ให้ไปดูหนังเรื่อง 2002 Space Odyssey

หลาย ๆ ครั้งที่เราจะต้องมีการแปลกลับไปกลับมาเพื่อตรวจสอบความหมายที่เราต้องการจะ สื่อว่าถูกต้องหรือไม่ ก็จงทำไปเถอะ เลือกคำศัพท์ภาษาไทยที่ง่าย  ๆ  แม้กระทั่งเด็ก ป.3 ยังเข้าใจ
แบบนั้นจะใช้ได้ดีกับ GGT (Google Translate)

กฏข้อที่ 2 รู้จักจุด G.SPOT

จุดนี้มันก็ไม่ได้มีอะไรต่างกับ จุดฟูลสต๊อบ แบบที่เราเรียนภาษาอังกฤษกันตอน ป.6 ว่า เขียนจบประโยคแล้วให้ใส่ . ด้วยนะ

ใส่ จุด ในภาษไทยเนี่ยนะ…?

เราใช้ จุด เพื่อแสดงให้น้อง GGT (Google Translate) เห็นว่า เออ น้องแปลถึงแค่นี้ล่ะนะ ไม่ต้องสะเออะทำเก่งไปรวมเอาคำอื่น ๆ มาแปลด้วย เดี๋ยวพี่หงุดหงิด ซึ่งต่างอารมรณ์จากการเขียนบทความภาษาไทยเลยนะครับ อันนั้นเราซัดกันยาว ๆ เมพ ๆ ร่ายร้อยเรื่อยเรียงกันมาเป็นชุด ๆ

ถ้าเราเขียนแบบนี้ให้น้อง GGT (Google Translate) แปล มีแต่ เน่ากับเจ๊งครับ  เพราะน้องเค้าจะแปลออกมาเป็นภาษาท้องถิ่นของชนเผ่าในดาวคริงก้อน

ความยากมันจะอยู่ที่บทความแรก ๆ ที่เราจะป้อนให้น้องเขาแปล เพราะเราต้องมาสั่งสมองของเราว่า ให้หยุดเป็นช่วง ๆ ใครที่เขียนแบบติดลมอาจหยุดยากหน่อย ต้องไปอ่านตำราหมอ นพพร ว่า จะให้หยุดนั้น ทำอย่างไร ง่าย ๆ แค่บังคับใจตัวเองเท่านั้น

สำคัญอีกอย่างคือ  ซัดประโยคยาว ๆ น้องก็มึนได้เหมือนกันครับ เน้นประโยคไม่ต้องยาวนัก เอาพอดี ๆ คิดคำง่าย ๆ ประโยคไม่ยาว เริ่มเห็นทางแล้วใช่มั้ยครับ

กฏข้อที่ 3 ทับศัพท์ไปเลย

บางคีย์เวิร์ด หรือ ยี่ห้อสินค้าที่มีลักษณะเป็นประโยคยาว ๆ บางที่ เมื่อเราพิมพ์เป็นไทยไปแล้ว น้อง GGT เค้าก็ไม่รู้จักครับ

ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย ให้เราใช้ ภาษาอังกฤษในประโยคภาษาไทยของเราเลย เพื่อบังคับแบบขืนใจว่า เฮ้ย น้องไม่ต้องแปล พี่จัดให้แล้ว แบบนี้จะได้รูปประโยคที่รวมกับ คีย์เวิร์ดได้อย่างถูกต้อง

เหมือนผมจะโม้มาก ก็แค่ 3 ข้อ พล่ามอะไรมายืดยาว ตัวอย่างก็ไม่มีให้ดู….
ผมก็ไม่รู้จะเอาตัวอย่างอะไรมาให้ดู ก็ขอเอา บทความที่ผมเขียนขึ้นจากทฤษฎีของผม ที่ลงไว้ในตอนที่ผ่านมามาให้ดูเป้นตัวอย่างก็แล้วกันครับ

โดย ภาษาไทยที่เห็นนั้น เป็นชุดที่สามารถ Copy + Paste ลงในช่อง GGT ได้เลย ผมจัดคำจัดประโยคมาเรียบร้อยแล้ว ขอให้เพื่อน ๆ เอาไปศึกษา สังเกต ต่อยอด คิด ทบทวน ทำซ้ำ ปรับปรุงจนได้เทคนิคของตัวเองในการเขียนบทความภาษาอังกฤษนะครับผม

หวัง ว่า น้อง ๆ พี่ ๆ เพื่อน ๆ มือใหม่ หรือ มือเก่า ที่คิดจะเขียนบทความ ที่คิดที่จะเริ่มโดยการ ตัดต่อพันธุกรรมคงหันมามองวิธีนี้ดูบ้างนะครับ

เพราะ วิธีการผสมพันธ์ทรานเสลทแบบนั้น มันจะทำให้เราได้ ซอมบี้ครับ ซอมบี้ที่ไม่ค่อยจะทำงานเท่าไหร่  ส่วนวิธีนี้ Unique Freshy Very Sprite 100% ครับ

อ้างอิงบทความจาก : http://www.seosamutprakarn.com


ป้ายกำกับ:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก