วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

SEO Study of the diagram

การศึกษา SEO จากแผนภาพ


SEO Study of the diagram
การศึกษา SEO จากแผนภาพ

1. Keyword Research

การแข่งขันในเรื่องของ keyword โดยส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับขนาดความยาวของคำ
เช่น หากเราขายทัวร์ภูเก็ต การใช้คำว่า "ทัวร์ภูเก็ต" เป็นที่แน่นอนที่คู่แข่งจะเยอะ งั้นเรามาระบุให้ลงลึกไปอีก "ทัวร์ภูเก็ตวันเดียว" เริ่มตัดคู่แข่งไปอีกนิด งั้นลึกไปอีก "ทัวร์ภูเก็ตวันเดียวราคาประหยัด" อาจจะยังกว้างก็เอาอีก "ทัวร์ภูเก็ตวันเดียวราคาประหยัดเดือนพฤศจิกายน" มันก็ช่วยให้คนหาเราได้เยอะ

2. Site Architecture & Structure

ลักษณะ การลิงค์ที่ทำให้ PR ไหลที่ดีคือควรออกแบบไซต์ให้เป็นลักษณะ “โครงสร้างลำดับชั้น” ตัวอย่างเช่น Thailand / Phuket / Patong / xxxhotel > แบบนี้คือโครงสร้าง ซึ่ง CMS ทั้งหลายก็จะแบ่งไว้ให้อยู่แล้ว

แต่เวลาทำ เวบ หน้า xxxhotel นี้มันก็อาจมีลิงค์จากหน้าของ category อื่นมาได้ เช่น Thailand / Spahotel / xxxhotel  เราก็ต้องบอกบอทว่า จะให้ xxxhotel นี่อยู่ในโครงสร้างไหน โดยการใช้ “breadcrumb” นั่นเองครับ
บอทมันจะได้เข้าใจ hierarchy ในเวบเราได้ง่ายขึ้นนั่นแหล่ะ เพราะบอทมันไม่ใช่คนมันเก็บแต่ลิงค์ มันไม่รู้หากเราไม่บอกมัน 

3. Page Optimisation

พื้นฐานที่สำคัญ ดูให้แน่ใจว่าคุณใช้ keyword อะไรใน URLs, หัวเรื่อง(title)ของหน้าเว็บนั้นๆ,tags ในหน้านั้น, ชื่อรูปภาพ, ส่วนของบทความ, ใส่ <h1><h2> หรือยัง, Image Alt attributes และใช้คำสั่ง bold(ตัวหนา) หรือ italic(ตัวเอียง) บน keyword ที่สำคัญไว้หรือยัง

4. Link Building

ต้องให้แน่ใจว่ามีลิงค์อยู่ภายในเว็บไซต์ของท่าน เพราะบอทจะไปไม่ได้ถ้าไม่มีลิงค์ไปต่อ, โพสต์ตาม Blog ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ website ของท่าน, LinkBait, การซับมิทที่ directory ต่างๆ, การวิเคราะห์คู่แข่ง ประมาณรู้เขารู้เราอะครับ, ทำหน้า Profile ของท่านบนเว็บพวก Social,Pligg และ เว็บบอร์ดต่างๆ.  และอีกอย่างที่ขาดไม่ได้คือ เชิญให้ทุกคนมาคอมเม้นต์เกี่ยวกับเว็บไซต์ของท่าน หรือการบริการของเว็บไซต์ท่าน Feedback อะครับ มันจะเป็นการดีอย่างยิ่งที่จะทำให้เว็บไซต์ของท่านดึงดูดคนเข้ามาชมเว็บไซต์ ของคุณมากขึ้น(Traffic) 

5. SEO Tactics

จะเห็นว่าในกราฟจะมีส่วนดีหรือไม่ดีใน SEO แต่สิ่งที่คุณควรมุ่งสนใจที่สุดคือ การสร้าง sitemap,การค้นหา keyword, แล้วก็เรื่องการปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ของท่านตลอดเวลา หรือเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า อัพเดทข้อมูล,บทความ ตลอดเวลาตามแต่ลักษณะเว็บไซต์ของท่าน

6. Linkbaiting & Social Media

แค่คุณ tweet บน twitter หรือ แค่อัพเดทสถานะบน facebook ในบางครั้งมันก็สามารถดึงดูดให้คนเป็นล้านๆเข้าเว็บไซต์ของท่านได้ นั่นแหละคือพลังที่ยิ่งใหญ่ของ Social Media และขอให้ใช้มันอย่างฉลาดด้วย

7.  SEO vs PPC

ข้อสุดท้ายละ จะอธิบายให้เข้าใจนะครับว่า จำนวนของ user ที่ คลิกบน search engine นั้นมากกว่า จำนวนคนที่มาจาก ลิงค์ของ PPC ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดในบริการด้าน SEO นั้นคือ ความสม่ำเสมอของตัวท่านนั่นแหละในการทำ SEO

เพิ่มเติมอีกนิดครับ

1. เวลาทำ SEO มักจำเป็นต้องมีคีย์หลักและคีย์รองเสมอ โดยที่คีย์หลักคือคำสั้นๆ และคีย์รองก็คือคำอื่นๆ ที่นำคีย์หลักมาผสม โดยส่วนมากแล้วคีย์รอง หรือนิชคีย์ มักจะสร้างรายได้ให้เราอยู่เสมอ

2. SEO เป็นการทำอันดับเฉพาะเว็บเพจหน้าหนึ่ง หรือหน้าใดๆ ที่เราเลือกทำเท่านั้น ไ่ม่ใช่ทำหน้าเดียวแล้วอันดับจะขึ้นทั้งเว็บไซต์ (แต่จริงๆ ส่วนตัวจุดนี้ผมไม่เห็นด้วยคับ) และมีการทำ sitemap ที่ถูกต้อง หลายคนส่วนมากรู้แค่ว่า Sitemap คือ sitemap.xml แต่จริงๆ แล้วคำว่า sitemap เป็นการออกแบบโครงสร้างลิงค์ที่ถูกต้องคับ ไม่ว่าจะเป็นลิงค์จากแท็ก <a> บนหน้าเว็บเพจที่จะกระจายไปยังเว็บเพจอื่นๆ ภายในไซ์ (สำหรับมนุษย์) และการทำ sitemap (สำหรับ robots) ด้วยไฟล์ sitemap.xml, .xml.gz (google) หรือ feed (yahoo, bing) โดยที่การออกแบบ sitemap จริงๆ จะต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ในเนื้อหาที่โยงแต่ละหน้าด้วย ไม่ใช่แค่ทำให้ทุกหน้าลิงค์กันได้เพียงอย่างเีดียวเฉยๆ แต่ปัจจุบันคงไม่ต้องซีเรียสมากคับเนื่องจาก sitemap สำหรับโรบอทไม่ค่อยมีความสำคัญมากแล้ว เพราะ SE แต่ละค่าย เน้นความสำคัญกับ sitemap สำหรับมนุษย์มากกว่า

3. ใช้แท็กต่างๆ ในการทำ SEO ให้ครบองค์ประกอบและถูกต้อง (จากประสบการณ์เีขียนเว็บรองรับ SEO ที่ผ่านมาของผมกล้าบอกได้เลยคับว่าตรงนี้สำคัญที่สุด ถ้าััจัดองค์ประกอบผิด การทำ seo ก็จะยากขึ้นด้วยเช่นกัน) หลายคนอาจรู้อยู่แล้วว่าในเว็บเพจแต่ละหน้าจำเป็นต้องมีแท็กอะไรบ้าง ก็เลยค่อนข้างซีเรียสกับแท็กต่างๆ มากเกินไป แต่หลายคนไม่รู้ว่า แท็กแต่ละอย่างที่ใส่ลงไปนั้น robots มีพฤติกรรม ในแง่ดี หรือร้าย กับการเก็บ index สำหรับหน้านั้นเพื่อที่จะนำไปจัดอันดับ ส่วนตัวแล้วผมยังคงเชื่อว่าการ Optimize หรือการเขียนโครงสร้างที่ดีที่สุดบนเว็บเพจ ยังคงเป็นการเขียน Content และวาง layout ที่แยกเนื้อหาแต่ละส่วนออกจากกันอย่างชัดเจน (หมายถึง out put source code สำหรับโรบอท) คับ

4. หาลิงค์จากทุกที่ ทุกรูปแบบที่เราหาได้ โดยที่ไม่ใช้มุขเดิมซ้ำๆ

5. คนที่ทำ SEO ที่ได้เปรียบที่สุดคงจะเป็นคนที่ทำ Gray Hat คับ

6. จิงๆ ข้อนี้น่าจะเหมือนกับข้อ 4 คับ แต่ผมไปเล็งเห็นความสำคัญของ API กับ Partner Site ที่กำลังได้รับความนิยม โดยลักษณะการทำงานขอเรียกง่ายๆ ว่า Auto Post มุขเดิม ที่เวลาผมโพสต์คลิปใน You Tube แล้ว มันจะ Auto Post ผ่าน API ลงใน Facebook ด้วย ถ้าหัวหมอหน่อยคงสร้างไอดีบอทเข้ามา ตัวนึง แล้ว list มาว่าเว็บไหนเป็น Partners Site บ้าง จากนั้น สมัครแล้วก็อัพเดทแต่ทาง Partners Site สำหรับ ไซต์ศูนย์กลางนั้น ขยันแอดเพื่อนเยอะๆ ก็พอคับ กรณีเราเป็นเจ้าของเว็บเองก็สรรหาปุ่มแชร์ต่างๆ มาใส่เว็บด้วยคับ คนไทยเล่น facebook, twitter เยอะอยู่แล้ว ผมว่าเราต้องได้อะไรดีๆ จากตรงนี้บ้างล่ะ

7. ข้อนี้ในรูปเค้าพยายามจะทำให้เราเห็นว่าการทำ SEO น่าจะได้ผลประโยชน์ดีกว่าการทำ SEM คับ (นี่ -*- ผมสรุปห้วนเกินไปไหมนิ ผมเชื่อว่ามีคนคิดแย้งข้อนี้นะ แต่หนึ่งในนั้นไม่ใช่ผมคับ) ผมมองเพิ่มไปอีกว่า ที่ดีกว่า seo และ sem คือช่องทางการทำตลาดในรูปแบบ create ด้านต่างๆ คับ เช่นทางโคนาด้านอื่นๆ คน, สื่อ, มือถือ, จิปาถะ … สำหรับบางธุรกิจถ้ามองเห็นแต่ seo และ sem เท่านั้นผมก็ว่าบางทีเราอาจจะอยู่หน้าคอมกันมากเกินไปคับ เราต้องลองชวนเพื่อนไปกินเบียร์วุ้นเหล่เด็กเชียร์เบียสวยๆ สั้นๆ แล้วเราจะรู้ว่าวันๆ น้องเค้าได้ทิป มากกว่ารายได้ทำ seo ของเราอีกคับ

ขอบคุณที่มาจาก : http://www.seosamutprakarn.com/

ป้ายกำกับ:

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ทำไมต้องทำ SEO ?

ทำไมต้องทำ SEO ?

1. เพื่อให้สามารถแข่งขันกับเว็บไซต์อื่นๆได้

ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บริษัทและธุรกิจต่างๆจึงหันมาโปรโมทองค์กร, สินค้า หรือบริการผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งหมายความว่าคู่แข่งทางช่องทางออนไลน์ของท่านจะมีจำนวนที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการโปรโมทเว็บไซต์ของท่านให้มีอันดับที่สูงขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ต 90 เปอเซนต์ ใช้ search engine โดยผู้ใช้งานจะคลิ๊กเว็บที่มีอันดับสูงก่อน

2. เพื่อเพิ่มผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่ค้นหาข้อมูลผ่านทาง Search Engine

ปกติแล้วคนทั่วไปมักจะเปิดดูผลการค้นหาใน Search Result Page เพียงแค่ 2 หน้าแรก หรืออันดับ 1-20 หากเว็บไซต์แสดงอยู่ในอันดับต่ำกว่านี้ โอกาสที่คนจะคลิ๊กเข้าไปดูเว็บไซต์ก็น้อยลงตามไปด้วย

3. เพื่อเพิ่มช่องทางในการโปรโมทเว็บไซต์หรือธุรกิจ

เมื่อเว็บไซต์ของเราอยู่ในตำแหน่งที่เข้าถึงได้ง่ายใน Search Result Page ธุรกิจของเราก็ย่อมจะเป็นที่รู้จักมากขึ้น แม้ว่าจะไม่มีการคลิ๊กเข้าไปดู แต่อย่างน้อยชื่อของเว็บไซต์และเนื้อหาที่ต้องการเน้นก็สามารถปรากฎให้ผู้ใช้เห็นได้ รวมไปถึงเป็นการสร้างภาพลักษณ์ (branding) ที่ดีต่อองค์กรหรือธุรกิจของท่านอีกด้วย หากเว็บไซต์ของท่านได้เป็นอันดับต้นๆเมื่อ search ด้วย keyword ที่เกี่ยวกับธุรกิจของท่าน

4. เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ

โดยส่วนมาก เว็บไซต์ที่ขายสินค้าหรือบริการไม่ได้มักจะเป็นเพราะไม่ค่อยมีผู้เข้าชม การทำ SEO นอกจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงเว็บไซต์แล้ว ยังสามารถช่วยเพิ่มลูกค้ารายใหม่ๆได้อีกด้วย

5. เพื่อประหยัดงบประมาณในการโฆษณา

ค่าใช้จ่ายในการทำ SEO ถือว่าถูกมากเมื่อเทียบกับการโฆษณาผ่านทางสื่อชนิดอื่นๆ และยังตรงเป้าหมายมากกว่า้เพราะใช้ Keyword ที่ผู้ใช้ต้องการค้นหาเป็นตัวกำหนดขอบเขต

ป้ายกำกับ:

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

How to Apply BLOGGER

วิธีสมัคร BLOGGER

สิ่งแรกที่ต้องมีในการสมัคร Blogger คือ E-mail ของ Gmail เท่านั้นครับ ซึ่งในส่วนของการสมัคร E-mail คงจะนำมาสอนเป็นขั้นเป็นตอนเพราะมันง่ายมากครับ

สำหรับใครที่สมัคร Gmail เรียบร้อยแล้ว สามารถทำตามวิธีดังต่อไปนี้เลยครับในการสมัคร Blogger มาใช้งานกัน

1. สามารถเปลี่ยนภาษาทางด้าน ขวาบน ได้หลากภาษาครับ จากนั้นคลิ๊กที่สร้างบล๊อกดังรูปครับ

วิธีสมัคร BLOGGER

2. ตั้งชื่อส่วนหัวของบล๊อก ตั้งชื่อบล๊อก จากนั้นก็ คลิ๊กดำเนิกการต่อ ดังรูปครับ

วิธีสมัคร BLOGGER


3. เลือกแม่แบบ หรือ Theme (หน้าตาบล๊อก) จากนั้น คลิ๊ก ดำเนินการต่อ ดังรูปครับ

วิธีสมัคร BLOGGER

4. เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ คลิ๊ก เริ่มต้นการเขียนบล๊อก ได้ทันทีเลย ดังรูปครับ

วิธีสมัคร BLOGGER


ป้ายกำกับ:

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Use Google Translate to write articles in English

มาใช้ Google Translate มาเขียนบทความภาษาอังกฤษกันเถอะ

กฏข้อที่ 1 ใช้คำง่ายๆ
ภาษาอังกฤษมีตัวอักษร 26 ตัว เทียบกับภาษาไทย 44 ตัว แค่เรื่องจำนวนมันก็ต่างกันคนล่ะชั้นแล้วครับ
คำศัพท์ของไทยเรานั้น มีมากมายจน GGT (Google Translate) ไม่สามารถจดจำได้หมด คำเดียวกันแต่มีวาระการใช้ต่างกันมากมายหลายแบบ ต่างจากภาษาอังกฤษ ซึ่งภาษาพูดของเขานั้น ใช้กันอยู่ไม่ถึงพันคำ วนไปวนมา ไอ้นั่นสลับไอ้นี่ ก็สื่อสารกันได้เข้าใจแล้ว

ดังนั้น เวลาจะหลอกใช้น้องเค้า ก็ให้เราคิดว่าพูดกับ Computer ที่ฉลาดน้อยกว่าเรา ใช้คำง่าย ๆ แปลได้ตรง ๆ แต่รวมแล้วสื่อความหมายเข้าใจ ไม่ต้องเน้นคำแสดงอารมณ์ ไอ้คำประเภท “โอ้โห มันสุดยอดมาก ๆ เลย นะครับ เจ๋งไปเลย คุ้มสุด ๆ” แบบนี้แปลยังไงก็สื่อกันไม่เข้าใจ

ลดคำลดอารมณ์ลงมาเหลือแค่ “ผมคิดว่ามันดีมาก” ,   “ผมคิดว่ามันคุ้มค่ามาก”, “ผมชอบมันมาก”
ดู ทื่อ ๆ แข็ง ๆ ไร้อารมณ์ เหมือน คอมพิวเตอร์ในหนังที่ซึ่งมักจะสื่ออารมณ์ออกมาเยี่ยงนี้  ใครไม่เข้าใจอารมณ์คอมพิวเตอร์ ให้ไปดูหนังเรื่อง 2002 Space Odyssey

หลาย ๆ ครั้งที่เราจะต้องมีการแปลกลับไปกลับมาเพื่อตรวจสอบความหมายที่เราต้องการจะ สื่อว่าถูกต้องหรือไม่ ก็จงทำไปเถอะ เลือกคำศัพท์ภาษาไทยที่ง่าย  ๆ  แม้กระทั่งเด็ก ป.3 ยังเข้าใจ
แบบนั้นจะใช้ได้ดีกับ GGT (Google Translate)

กฏข้อที่ 2 รู้จักจุด G.SPOT

จุดนี้มันก็ไม่ได้มีอะไรต่างกับ จุดฟูลสต๊อบ แบบที่เราเรียนภาษาอังกฤษกันตอน ป.6 ว่า เขียนจบประโยคแล้วให้ใส่ . ด้วยนะ

ใส่ จุด ในภาษไทยเนี่ยนะ…?

เราใช้ จุด เพื่อแสดงให้น้อง GGT (Google Translate) เห็นว่า เออ น้องแปลถึงแค่นี้ล่ะนะ ไม่ต้องสะเออะทำเก่งไปรวมเอาคำอื่น ๆ มาแปลด้วย เดี๋ยวพี่หงุดหงิด ซึ่งต่างอารมรณ์จากการเขียนบทความภาษาไทยเลยนะครับ อันนั้นเราซัดกันยาว ๆ เมพ ๆ ร่ายร้อยเรื่อยเรียงกันมาเป็นชุด ๆ

ถ้าเราเขียนแบบนี้ให้น้อง GGT (Google Translate) แปล มีแต่ เน่ากับเจ๊งครับ  เพราะน้องเค้าจะแปลออกมาเป็นภาษาท้องถิ่นของชนเผ่าในดาวคริงก้อน

ความยากมันจะอยู่ที่บทความแรก ๆ ที่เราจะป้อนให้น้องเขาแปล เพราะเราต้องมาสั่งสมองของเราว่า ให้หยุดเป็นช่วง ๆ ใครที่เขียนแบบติดลมอาจหยุดยากหน่อย ต้องไปอ่านตำราหมอ นพพร ว่า จะให้หยุดนั้น ทำอย่างไร ง่าย ๆ แค่บังคับใจตัวเองเท่านั้น

สำคัญอีกอย่างคือ  ซัดประโยคยาว ๆ น้องก็มึนได้เหมือนกันครับ เน้นประโยคไม่ต้องยาวนัก เอาพอดี ๆ คิดคำง่าย ๆ ประโยคไม่ยาว เริ่มเห็นทางแล้วใช่มั้ยครับ

กฏข้อที่ 3 ทับศัพท์ไปเลย

บางคีย์เวิร์ด หรือ ยี่ห้อสินค้าที่มีลักษณะเป็นประโยคยาว ๆ บางที่ เมื่อเราพิมพ์เป็นไทยไปแล้ว น้อง GGT เค้าก็ไม่รู้จักครับ

ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย ให้เราใช้ ภาษาอังกฤษในประโยคภาษาไทยของเราเลย เพื่อบังคับแบบขืนใจว่า เฮ้ย น้องไม่ต้องแปล พี่จัดให้แล้ว แบบนี้จะได้รูปประโยคที่รวมกับ คีย์เวิร์ดได้อย่างถูกต้อง

เหมือนผมจะโม้มาก ก็แค่ 3 ข้อ พล่ามอะไรมายืดยาว ตัวอย่างก็ไม่มีให้ดู….
ผมก็ไม่รู้จะเอาตัวอย่างอะไรมาให้ดู ก็ขอเอา บทความที่ผมเขียนขึ้นจากทฤษฎีของผม ที่ลงไว้ในตอนที่ผ่านมามาให้ดูเป้นตัวอย่างก็แล้วกันครับ

โดย ภาษาไทยที่เห็นนั้น เป็นชุดที่สามารถ Copy + Paste ลงในช่อง GGT ได้เลย ผมจัดคำจัดประโยคมาเรียบร้อยแล้ว ขอให้เพื่อน ๆ เอาไปศึกษา สังเกต ต่อยอด คิด ทบทวน ทำซ้ำ ปรับปรุงจนได้เทคนิคของตัวเองในการเขียนบทความภาษาอังกฤษนะครับผม

หวัง ว่า น้อง ๆ พี่ ๆ เพื่อน ๆ มือใหม่ หรือ มือเก่า ที่คิดจะเขียนบทความ ที่คิดที่จะเริ่มโดยการ ตัดต่อพันธุกรรมคงหันมามองวิธีนี้ดูบ้างนะครับ

เพราะ วิธีการผสมพันธ์ทรานเสลทแบบนั้น มันจะทำให้เราได้ ซอมบี้ครับ ซอมบี้ที่ไม่ค่อยจะทำงานเท่าไหร่  ส่วนวิธีนี้ Unique Freshy Very Sprite 100% ครับ

อ้างอิงบทความจาก : http://www.seosamutprakarn.com


ป้ายกำกับ:

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มาติดตั้ง meta tag ลงใน blogger กันเถอะ

มาติดตั้ง meta tag ลงใน blogger กันเถอะ

ก่อนอื่นเราเข้าไปที่เข้า Edit Html ของ Template แล้วหาโค้ด

<b:include data='blog' name='all-head-content'/>

จากนั้นวางโค้ดต่อไปนี้ถัดจากโค้ดดังกล่าว






<meta name="keywords" content="xxxxx, xxxxx, xxxxx, xxxxx, xxxxx, xxxxx, xxxxx, xxxxx, xxxxx" />
<meta name="description" content="xxxx, xxxx, xxxxx, xxxxx" />
<meta name="author" content="xxxxx" />
<meta name="robots" content="all" />


หลังจากนั้นเราก็เปลี่ยน content ในส่วน keyword , content ในส่วน description และ author content ให้เป็นคำที่สัมพันธ์กับบล็อก /เว็บไซต์ของคุณ แล้วก็บันทึกแม่แบบ เ็ป็นอันเสร็จสิ้น

หรือ หาโค๊ดนี้ครับ

{<head>
 <b:include data='blog' name='all-head-content'/>
 <title><data:blog.pageTitle/></title>
 <b:skin><![CDATA[/*}

แล้วแทนด้วยโค๊ดนี้ครับ

{<head>
<b:include data='blog' name='all-head-content'/>
<b:if cond='data:blog.url == &amp;quot;http://เปลี่ยนตรงนี้ให้เป็นที่อยู่เว็บไซต์คุณ.com/&amp;quot;'>
<meta content='DESCRIPTION' name='description'/>
<meta content='KEYWORDS' name='keywords'/> </b:if>
<b:if cond='data:blog.pageType == &amp;quot;item&amp;quot;'>
<title> <data:blog.pageName/> | <data:blog.title/> </title> <b:else/> <title>
<data:blog.pageTitle/>: ใส่ Descript เว็บไซต์คุณ </title> </b:if>
<b:skin><![CDATA[/* }


ป้ายกำกับ: