วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

10 จุดสุดยอดในการใช้ Keyword ในการทำ SEO

10 จุดสุดยอดในการใช้ Keyword ในการทำ SEO


10 จุดสุดยอดในการใช้ Keyword ในการทำ Search Engine Optimization

การใช้ Keyword ในการทำ Search engine Optimization หลายคนที่เป็นมือใหม่อาจไม่มั่นใจหรือใช้ได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้ ผมเชื่อว่าน่าจะเป็นแนวทางให้สำหรับผู้ที่ยังไม่มั่นใจหรือยังไม่รู้ว่าจะใช้ยังไง ได้ไม่มากก็น้อยนะครับ อย่ามัวเสียเวลาครับเริ่มต้นกันเลย


1. ใช้ Keyword ที่บริเวณ ชื่อหน้าเพจ (Title)

ให้เราใส่ Keyword ที่เราต้องการจะใส่โดยให้น้ำหนักจากการเรียงจาก ซ้ายไปขวา
ตัวอย่างการใช้งาน: [title] keyword หลัก , keyword รอง , keyword อื่นๆ [/title] เป็นต้น



2. ใช้ Keyword ที่บริเวณ ชื่อหัวข้อของเนื้อหา (Heading tag)

โดยการใช้ H1,H2,H3 เป็นต้น
ตัวอย่างการใช้งาน : [H1] Keyword [/h1] หรือ [H2] Keyword [/H2] เป็นต้น


3. ใช้ Keyword ที่บริเวณ เนื้อหาในส่วนแรก (First Content)

ให้ใส่ Keyword ไว้ในตำแหน่ง 20 คำแรกโดยประมาณ ให้ชัดเจน หรืออาจจะใช้ตัวอักษรลักษณะเอียงก็ได้
ตัวอย่างการใช้งาน :
[BODY][P] Keyword [/P][/BODY]


4. ใช้ Keyword ที่บริเวณ ลิงค์เชื่อมโยงมาตรฐาน (Standard Text Link)

คือการเชื่อมโยงในลักษณะ การใช้ Text link เป็นตัวเชื่อมโยง แล้วแทรก Keyword ผสมเข้าไปด้วย
ตัวอย่างการใช้งาน : [a href="http://www.yoursite.com"] Keyword [/a]


5. ใช้ Keyword ที่บริเวณ เนื้อหาในส่วนสุดท้ายของหน้า (The last content)

เพื่อเน้นย้ำหรือใช้ในการสรุปเนื้อหาอาจจะใช้เป็นลักษณะตัวเอียงหรือหนาก็ได้ครับ
ตัวอย่างการใช้งาน : [P] Keyword [/P] [/BODY]


6. ใช้ Keyword ที่บริเวณ เมนูเลื่อนลง (Drop Down Menu)

Drop down menu นี้เป็นที่ซ่อน Keyword ที่ดีอีกที่ที่ไม่ควรมองข้ามนะครับ
ตัวอย่างการใช้งาน : [FORM] [OPTION] Keyword [/OPTION] [/FORM]


7.   ใช้ Keyword ตั้งชื่อไฟล์และโฟลเดอร์ (Folder name,File name)

วิธีนี้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจพอสมควรครับกับการทดลองใช้ในหลายๆเว็บที่ผมลอง หากต้องใช้ Keyword มากกว่า 1พยางค์ ควรใช้เครื่องหมาย "-" เป็นตัวคั่นกลาง
ตัวอย่างการใช้งาน : / Keyword/ Keword.html, Keyword.jpg หรือ Keyword1-Keyword2.html


8. ใช้ Keyword ที่บริเวณ คำอธิบายรูปภาพ (Images alt tag)

การใช้ tag alt เข้าช่วยนั้นเพราะว่า Sreach engine นั้นไม่รู้จักรูปภาพเราสามารถบอก Sreach engine รู้ว่าภาพนั้นเป็นภาพของอะไรได้โดยใช้ tag alt นี้เข้าช่วย
ตัวอย่างการใช้งาน : [img src="images address" alt="Keyword"]


9. ใช้ Keyword ที่บริเวณ คำอธิบาย ลิงค์ (Text link title)

การใช้ text link title นั้นคลายการใช้ tag alt เพียงแต่ tag นี้ใช้อธิบาย link
ตัวอย่างการใช้งาน : [ a href="http://www.yoursite.com" title="Keyword"] Keyword [/a]


10. ใช้ Keyword จด Domain name ด้วย Keyword (Domain name register)

การใช้ Keyword หลักของเว็บในการจด Domain name นั้นหากทำได้ดีถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่งแล้วครับ

ป้ายกำกับ:

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ความรู้ BLOGGER

ความรู้ BLOGGER

ประวัติความเป็นมาของ Blogger

ความรู้ BLOGGER


Blogger เริ่มต้นจากบริษัทเล็กๆ ในซานฟรานซิสโกในปี 1999 นับตั้งแต่ Blogger เปิดตัวก็ได้เปลี่ยนโฉมหน้าของเว็บ สร้างผลกระทบต่อการเมือง เขย่าวงการสื่อสารมวลชน และทำให้คนนับล้านได้แสดงออกและติดต่อกับ
บุคคลอื่น ณ.ปัจจุบัน Blogger ได้ถูกซื้อไปอยู่ในความครอบครองของ Google เรียบร้อยแล้ว

Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)

ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้นผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq
เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจาก การเขียนเป็นงานอดิเรก ของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูล ตั้งแต่เรื่องการเมือง ไปจนกระทั่ง เรื่องราวของการประชุม ระดับชาติ
และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ ที่สำคัญอย่างแท้จริง
Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง

มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถ แตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้นจุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง


blogger.com เมื่อเริ่มให้บริการในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2542

ความรู้ BLOGGER
หน้าของ BLogger สมัยก่อน
ความรู้ BLOGGER
หน้าของ BLogger แบบต่อมา
หน้าของ BLogger ล่าสุด

ทำไมต้องใช้ Blogger

1. ใช้งานง่าย แค่มีบัญชีอีเมล์ของ Google นั่นก็คือ Gmail คุณก็สามารถสร้าง Blog ออกมาได้นับไม่ถ้วน
2. ปรับแต่งง่าย มีเทมเพลต พร้อมทั้ง Gadget มากมายให้เลือกใช้ เพื่อบ่งบอกความเป็นตัวของคุณ
3. ไม่ล่ม แน่นอนครับก็มี Google ดูแลอยู่นี่นา
4. ข้อสุดท้ายสำคัญที่สุด สามารถนำมาติดโฆษณาหารายได้จาก Google Adsense ได้อย่างง่าย ๆ หลาย ๆ คนเอามันมาเป็นสะพานเพื่อสมัคร Google Adsense

ป้ายกำกับ:

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

คู่มือ SEO “ มือใหม่ อยากทำ SEO เริ่มต้นอย่างไร

คู่มือ SEO “ มือใหม่ อยากทำ SEO เริ่มต้นอย่างไร

หลายคนคงจะได้ยินกับคำว่า SEO กันมาบ้างแล้วนะครับ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย แต่หลายคนก็ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหน จะทำอย่างไร ถึงจะเรียกว่าการทำ SEO วันนี้ผมมีคำตอบให้ครับ ใครที่สนใจในเรื่อง SEO ก็จะได้มีแนวทางในการต่อยอดหาความรู้ หาเทคนิคใหม่ๆ ต่อ ๆ ไป บทความนี้เป็นเพียงบทความ แนะนำพื้นฐานส่วนหนึ่งในการทำ SEO เท่าที่ผมรู้นะครับ เพราะว่าการทำ SEO มันมีการพัฒนา มีเทคนิคใหม่ อยู่เสมอ แต่รับรองได้เลยครับว่า บทความที่ผมจะนำเสนอต่อไปนี้ จะมีค่าสำหรับมือใหม่อย่างแน่นอนครับ
 

SEO คืออะไร
เริ่มกันที่ความหมายของ SEO กันเลยนะครับ SEO คืออะไร หลายคนก็คงจะสงสัยกันอยู่  (มือใหม่) ตามความเข้าใจของผมนะครับ SEO (Search Engine Optimization) คือ “การปรับแต่งเว็บไซต์ รวมไปถึงการโปรโมท เว็บไซต์ เพื่อให้ Search Engine ต่างๆ สามารถค้นหาและรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ของเราได้สะดวก และรวดเร็ว ซึ่งผลจากการทำ SEO ก็จะทำให้ เว็บไซต์ ของเราอยู่ในอับดับต้นๆ ของ Search Engine ต่างๆได้ และ ทำให้เว็บไซต์ของเราสามารถทำเงิน หรือ ค้าขาย ให้บริการต่างๆ ได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น”
ท่านสามารถค้นหาในเว็บ Google คำว่า “SEO คืออะไร” เพื่อดูความหมายอื่น ๆ

Search Engine คืออะไร
เอาสั้นๆเลยครับ Search Engine ก็คือ เว็บไซต์ หรือ เครื่องมือค้นหาข้อมูลในโลกอินเตอร์เน็ต อย่างเช่น Google Yahoo ฯลฯ 
ท่านสามารถค้นหาในเว็บ Google คำว่า “Search Engine คืออะไร” เพื่อดูความหมายอื่น ๆ

SEO ทำได้อย่างไรบ้าง
เข้าเรื่องกันเลยครับ ผมเคยได้ยินบ่อยครับคำนี้ ผมก็เลยจะบอกว่า SEO ทำได้ 2 ทาง หลักๆ ครับ คือ
1.  On-site คือ การทำในเว็บไซต์ของเรา การทำก็เป็นการปรับแต่งโคร่งสร้างต่างๆ ภายในเว็บไซต์ของเราครับ ซึ่งผมจะแนะนำในหัวข้อต่อไป
2. Off site คือ การทำภายนอกเว็บไซต์ครับ เช่น ฝากลิงค์ ตามเว็บ บอร์ด เว็บ social ฯลฯ ซึ่งผมจะแนะนำในหัวข้อต่อไป เช่นกัน

สิ่งที่ผู้อ่านจะต้องค้นหาความรู้กันต่อไป
ก่อนอื่น ผมต้องบอกก่อนเลยว่า บทความนี้เป็นบทความที่ผมเขียนขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการทำ SEO เท่านั้นนะครับ อาจะอธิบายได้ ไม่ครอบคลุมเนื้อหาหลายๆ อย่าง (ผมจะฮธิบาย เน้นการทำ SEO กับ Google เป็นหลัก) ซึ่งเป็นหน้าที่ของท่านที่จะต้องศึกษากันต่อไปครับ สิ่งที่ผมจะแนะนำให้หาความรู้เพิ่มเติมก็คือ (ค้นหาข้อมูลจาก Google ได้เลยครับ)

สื่งที่ท่านอาจจะยังไม่รู้
- หลักการทำงานของ Search Engine ?
- Googlebot คืออะไร มีกี่ประเภท ?
-Google Sandbox คืออะไร ?
-เครื่องมือวิเคราะห์คีย์เวิร์ด มีอะไรบ้าง ?  
- นิช (Niche) คีย์เวิร์ด คืออะไร ?
- โดเมน คืออะไร มีกี่ประเภท ?
-โฮสติ้ง คืออะไร ?
-เว็บเพจ คืออะไร เว็บไซต์ คืออะไร
- PR คืออะไร ?
-Sitemap คืออะไร ทำไมต้องใช้ Sitemap ?
-Robots.txt คืออะไร มีเอาไว้ทำอะไร ?
-ลิงค์วีล (Link Wheel) คืออะไร ?
-Feed คืออะไร Submit Feed ยังไง ?

คุณรู้จักคีย์เวิร์ดหรือยัง ?
คีย์เวิร์ดในความเข้าใจของผม ก็คือ คำ ที่ใช้ในการ ค้นหา ใน Search Engine เพื่อให้เจอกับเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคำนั้น ๆ
ท่านสามารถค้นหาในเว็บ Google คำว่า “คีย์เวิร์ด คืออะไร” เพื่อดูความหมายอื่น ๆ

จดโดเมนเนม และ โฮสติ้ง ยังไงให้ถูกหลัก SEO
ถ้าเราที่จะมีเว็บไซต์ เป็นของเราสักเว็บหนึ่ง ขั้นตอนแรก ผมแนะนำให้ หาคีย์เวิร์ดให้ได้ก่อน  คิดให้ดีก่อนว่าเว็บไซต์ของเราจะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับอะไร จากนั้นก็ไปจดโดเมนเนม กันเลยครับ เบื้องต้นถ้ายังไม่รู้ว่าจะจด .com หรือ . อะไรดี  ผมแนะนำให้จด .com ไปเลยครับ
หลักการจด มีอยู่ว่า ในการจดโดเมนเนม ควรใช้ชื่อที่อ่านง่าย ออกเสียงง่าย สื่อถึงเนื้อหาภายในเว็บไซต์ ยิ่งเป็นคำสั้นๆ ได้เท่าไหร่ ยิ่งดี และที่สำคัญ ควรมีคีย์เวิร์ดแทรกอยู่ในชื่อโดเมนเนมนั้นด้วย  และแนะนำให้เอาคีย์เวิร์ดไว้เป็นอันดับแรกของคำ ทำได้จะดีมากเลยครับ แล้วในการจดโดเมนเนม หากหลีกเลี่ยงการใช้ เครื่องหมาย ขีดกลาง (-) ในการตั้งชื่อโดเมนเนมได้ ก็ยิ่งดีครับ ไม่ควรใช้เลยครับ ตัวอย่างเช่น เอาของผมเลยครับ web9ball.com คีย์เวิร์ด ก็คือ web ผมจะนำมาไว้หน้าเลยครับ เพราะว่าเว็บไซต์ของผมมีเนื้อหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ ฯลฯ
ส่วนการเลือกโฮสติ้ง ก็แนะนำได้คำเดียวว่า เลือกโฮสติ้งที่เร็วๆ เลยครับ เอาแบบไม่ล้มบ่อย ถ้าโฮสล้มบ่อย  โฮสติ้งช้า อาจทำให้เว็บไซต์ของเราทำอันดับได้ไม่ดีเท่าที่ควร

มาเริ่ม  SEO On-site (ทำภายในเว็บไซต์) กันเลย

- เนื้อหาในหน้าเว็บเพจ ควรพูดถึงเรื่องๆ เดียวกัน เช่น คุณขาย เครื่องสำอาง เนื้อหาก็ควรจะมีแต่เรื่องเครื่องสำอางเป็นหลัก อย่าไปพูดถึงเรื่อง เรือรบ เด็ดขาดเลยครับ มันเกินไป อิอิ

- จำนวนหน้าเว็บเพจ มีมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีเท่านั้น จำไว้ได้เลยครับ Google ชอบเว็บไซต์ที่มีจำนวนหน้าเว็บเพจเยอะๆ และหน้าเว็บเพจเหล่านั้นต้องมีเนื้อหาสาระนะครับ ข้อมูลก็ต้องมีอย่างน้อย 500 ตัวอักษรต่อหน้า

เลือกใช้ Static Link แทน Dynamic Link เพื่อบ่งบอกถึงเนื้อหาภายในเพจนั้นๆ
Static Link เช่น  yourweb.com/index.php?id=12035235&cat=22
Dynamic Link เช่น yourweb.com/website.html

ตั้งชื่อไฟล์ ต่างๆ ด้วยคีย์เวิร์ด เช่น website.zip website.jpg joomla.gif ฯลฯ

เคล็ดลับการเขียน Title และ Description
Title และ Description คือ หัวข้อ (หรือ หัวเรื่อง) และ  คำอธิบาย ของเว็บไซต์ และที่สำคัญมันจะไปแสดงอยู่ในหน้า Google ครับ ในบรรทัด ที่ 1 และ 2-3 ตามลำดับ ดังนนั้น เราจะเขียนยังไง ให้เว็บติดอันดับต้นๆ จะเขียนยังไงให้คนอยากจะคลิก มาดูกันครับ

การเขียน Title ควรมีจำนวนตัวอักษร 65 ตัวอักษร (ใช้ให้ขาด ให้เกิน น้อยที่สุดยิ่งดีครับ ถ้าสงสัยลองนับดูหน้า Google ครับ) ถ้ามากกว่านั้น Google ก็แสดงไม่หมดครับ ส่วนการเขียน Title ที่ดีนั้น ควรจะเขียน ให้เป็นประโยคที่อ่านแล้วน่า คลิก สื่อถึงเนื้อหาภายในเว็บไซต์ได้ดี และที่สำคัญ ควรสอดแทรกด้วยคีย์เวิร์ดเข้าไปให้มากที่สุด แต่อย่างมากจนหน้าเกลียด และที่สำคัญอ่านแล้วต้องมีความหมาย และเป็นประโยค ด้วยครับ

การเขียน Description มีจำนวนตัวอักษร 155 ตัวอักษร (ใช้ให้ขาด ให้เกิน น้อยที่สุดยิ่งดีครับ ถ้าสงสัยลองนับดูหน้า Google ครับ) ในการเขียนก็ใช้หลักการเดียวกับ การเขียน  Title ครับ

เนื้อหาภายในเว็บไซต์ ควรสอดคล้อง กับคีย์เวิร์ด และ สอดแทรกด้วยคีย์เวิร์ด
ในการเขียนบทความ หรือ เนื้อหา ให้กับเว็บไซต์ ควรพูดถึงเรื่องๆเดียวกันกับคีย์เวิร์ด และที่สำคัญควรสอดแทรกด้วยคีย์เวิร์ดให้มากที่สุด แต่ไม่มากจนน่าเกลียด และต้องอ่านแล้วได้ใจความด้วยครับ

ตัวอย่างบทความที่ไม่สมควร
“เว็บนายบอล รับออกแบบเว็บไซต์ เรารับออกแบบเว็บไซต์ในราคาประหยัด เรารับออกแบบเว็บไซต์ด้วยความจริงใจ และ รับออกแบบเว็บไซต์ ด้วยระบบ CMS JOOMLA เรายินดีให้บริการ รับออกแบบเว็บไซต์” เยอะไปแบบนี้ก็ไม่ดีครับ เอาแต่พองาม

ใส่คำอธิบายให้กับรูปภาพ
นอกจากการตั้งชื่อไฟล์ด้วยคีย์เวิร์ดแล้ว เราก็ควรจะใส่คำอธิบายให้กับรูปภาพทุกรูปด้วยครับ Google จะได้ Index รูปภาพของเราด้วย

เพิ่มบทความหรือข้อมูลใหม่ๆ ให้กับเว็บไซต์ สม่ำเสมอ
อย่างที่รู้กันนะครับว่า Google จะชอบเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาใหม่ๆ ไม่ซ้ำกับเว็บไซต์อื่นๆ ยิ่งเว็บไซต์ไหนมีการอัพเดทเนื้อหาอยู่บ่อยๆ Bot ของ Google ก็จะเข้ามาเก็บข้อมูลบ่อยๆ เช่นกัน  ส่วนในการเพิ่มบทความใหม่ๆ เข้าไปในเว็บไซต์นั้น อาจะเพิ่มวัน 3-4 บทความ (ถ้ามีเวลา) หรือ อย่างน้อย 2-3 วัน สัก 1 บทความก็ยังดีครับ

ใช้ TAG เหล่านี้ซะบ้าง










ใช้กับประโยคที่เป็นหัวข้อหลัก บ่งบอกถึงเนื้อหาภายในเว็บเพจ และที่สำคัญควรมีแค่ หัวข้อเดียว แล้วก็ ควรสอดแทรกคีย์เวิร์ดเข้าไปด้วย


ใช้กับประโยคที่เป็นหัวข้อที่มีความสำคัญรองลงมา มีได้มากกว่าหนึ่งหัวข้อ
ใช้เน้นคำที่มีความสำคัญ หรือ คีย์เวิร์ด


Tag ที่ขาดไม่ได้

Title เป็นสิ่งที่สำคัญเลยครับ เป็นหัวข้อหลัก บ่งบอกเนื้อหาภายในเว็บไซต์ จะแสดงในบรรทัดที่ 1 ของ Google ครับ รับออกแบบเว็บไซต์ ทำเว็บไซต์  ด้วยระบบ CMS JOOMLA โดย เว็บนายบอล

Description เป็นคำอธิบายของเว็บไซต์ ทำให้บอทรู้ได้ว่าเว็บไซต์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

Keywords ควรใส่ไม่เกิน 10 คำ ครับ แล้วก็คั่นด้วยเครื่องหมาย ","

Tag เหล่านี้ อยู่ในส่วนของ โค้ด ครับ

ควรมีลิงค์ไปยังเว็บเพจหน้าอื่นบ้าง
ในการเขียนบทความในแต่ละครั้ง ถ้าเราเจอคีย์เวิร์ดต่างๆ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ บทความที่เราเขียนมาก่อนหน้านี้แล้ว เราก็ควรที่จะทำลิงค์ หรือใส่ลิงค์ไปหา บทความนั้นๆ ด้วย เพราะ Google จะได้อยู่ในเว็บไซต์ของเรานานๆ และสามารถเก็บข้อมูลภายในเว็บไซต์ได้ครบทุกหน้า
ตัวอย่างเช่น ผมได้เขียนบทความเรื่อง SEO เสร็จแล้ว ผมก็ไปเขียนบทความอื่นต่อไป พอดีว่าไปเจอ คำว่า  SEO ในบทความนั้น ผมก็เลยใส่สิงค์ให้กับคำว่า SEO ให้ลิงค์ไปยังบทความ เรื่อง SEO ที่ผมได้เขียนเอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ฯลฯ ถ้าเป็นเว็บไซต์ ระบบ CMS ก็จะมีเครื่องมือในการใส่ลิงค์ให้อยู่แล้วครับ

ถ้าไม่จำเป็น ไม่ควรมีลิงค์ออกนอกเว็บไซต์
ก็คือไม่ควรใส่ลิงค์ ให้เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ภายนอก โดยไม่จำเป็น  เพราะจะทำให้ค่า PR ของเรารั่วไหลไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ได้

ถ้ามีความจำเป็นต้องทำลิงค์ออกนอกเว็บไซต์
ในกรณีที่เราจะเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ ภายนอก ให้เราใส่ nofollow link เข้าไปด้วย a href=”เว็บไซต์ภายนอก” rel=”nofollow”
ตัวอย่าง ข้อความ

ในการสร้างลิงค์ ควร ลิงค์ด้วย Text หรือ ข้อความ และควรลิงค์ ด้วยคีย์เวิร์ด
เช่น อ่านต่อ... [ SEO เบื้องต้น  ] ย่อมดีกว่า อ่านต่อ ...


มาเริ่ม  SEO  Off site (ทำภายนอกเว็บไซต์) กันเลยครับ


การทำ SEO ภายนอกเว็บไซต์ ก็จะเป็นการฝากลิงค์ หรือ หา แบ็คลิงค์ (Back Link )
แบ็คลิงค์ คืออะไร แบ็คลิงค์ ก็คือ ลิงค์ที่เชื่อมโยงจากเว็บไซต์ ภายนอก หรือ เว็บไซต์ อื่นๆ มาหาเว็บไซต์ ของเรา ยิ่งมีมากเท่าไหร่ ก็ทำให้เว็บไซต์ของเรายิ่งมีค่าในสายตาของ Google มากเท่านั้น

ข้อคิดการฝากลิงค์
-ควรฝากลิงค์กับเว็บที่มีค่า PR สูง กว่าเว็บไซต์ของเรา หรือ เว็บไซต์ที่มีผู้คนเข้าชมวันละหลายๆคน
- การ หาแบ็คลิงค์ โปรโมท หรือ โพสต์ตามเว็บบอร์ดต่างๆ ควรอ่านกฎข้อปฏิบัติของที่นั้นๆ ให้ดีก่อนโพสต์ และในการโพสต์ จะต้องโพสต์ให้ตรงหมวดหมู่ด้วยนะครับ จะทำให้แบ็คลิงค์ที่เราได้มามีค่ามากยิ่งขึ้น  และ กระทู้ หรือ บทความ ของเราก็จะไม่โดนลบด้วยครับ
- เว็บไซต์ที่เพิ่งทำเสร็จใหม่ควรฝากลิงค์ 3-4 ลิงค์ก่อน หลังจากนั้นประมาณ 3 เดือน แล้วค่อยฝากลิงค์วันละ 10-20 ต่อวันครับ (ขึ้นอยู่กับเทคนิคของแต่ละคนครับ ว่าจะฝากวันละกี่เว็บ ถ้ามากไปอาจจะไม่ปลอดภัยครับ เดี่ยวโดน พี่ Google เก็บลงหลุมทรายครับ) ทำไมต้องรอ 3 เดือนใช่มั้ยละครับ หลายคนสงสัยละสี ก็เพราะว่า Google จะใช้เวลาในการพิสูจน์เว็บไซต์ที่เพิ่งเกิดใหม่ครับ เพราะว่าหลายๆเว็บไซต์ทำแล้วทิ้งบ้าง ไร้สาระบ้าง Google เลยต้องทดสอบกันหน่อยครับ

ฝากลิงค์ที่ไหนได้บ้าง
- เว็บบอร์ดต่าง ๆ (ถ้าเน้นโพสต์ตรงกับหวดสินค้าของเรา) ถ้าเป็นเว็บไซต์ที่สามารถเลื่อนตำแหน่ง และต่อวันหมดอายุได้ยิ่งดีครับ
- เว็บบอร์ด Profile คือ ในการสมัครเข้าใช้งานเว็บบอร์ด จะมีหน้า Profile ให้เรากรอกประวัติต่างๆ และหลายๆ เว็บบอร์ดก็จะมี ลายเซ็น ให้เรา กรอกด้วย เราก็สามารถใสลิงค์ของเราลงไปได้เลยครับ (สอบถามจากพี่ในไทยเสียวได้เลยครับ สำหรับใครที่ใส่ลายเซนไม่เป็น)
- เว็บ Social เช่น facebook twitter ฯลฯ สามารถหา list จากใน ไทยเสียวได้เลยครับ http://www.thaiseoboard.com/index.php/topic,49665.0.html
- เว็บ Directory เช่น directory.truehits.net  ซึ่งก็สามารถหา list ได้จากใน ไทยเสียวเช่นกัน http://www.thaiseoboard.com/index.php/topic,31788.0.html
- Submit feed (อันนี้ต้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติมกันนะครับ เพราะว่าผมก็แค่รู้ แต่สอนต่อไม่ถูกครับ) อิอิ
- แลกลิงค์ กับเพื่อนบ้าน ตัวอย่าง http://www.web9ball.com/index....icle&id=133&Itemid=127
- ลิงค์ วีล(Link Wheel) (ค้นหาความรู้เพิ่มเติมได้เลยครับ ว่าทำกันยังไง ผมเองก็ทำไม่ค่อยเป็น)

ลืมบอกไป ว่า ลิงค์ ที่มีค่า มาจากเว็บไหนบ้าง
ที่ผมจำได้ก็ ลิงค์ที่มีค่า นอกจากจะมาจากเว็บที่มีค่า PR สูงๆ และ การโพสต์ตรงหมวดหมู่แล้ว ผมยังแนะนำอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ลิงค์จากเว็บ การศึกษา หน่วยงานราชการ เว็บการกุศล ฯลฯ ครับ เช่น .org .edu .gov หายากสักหน่อยครับ  ฝากที่ไหน ฝากยังไง ถึงจะไม่โดนลบ ต้องมีเทคนิคการฝากลิงค์ นะครับ ซึ่งต้องค้นคว้า ถามจากคนที่เก่งๆ แล้วก็ศึกษากันต่อไปครับ

ในที่สุดนี้ อยากจะบอกอีกครั้งว่า บทความที่ผมเขียนมานี้ เป็นบทความที่มาจากความเข้าใจของผมนะครับ ซึ่งผมได้อ่านมาจากหนังสือ และศึกษา เพิ่มเติมในเว็บไซต์ ต่างๆ อาจจะไม่ครอบคลุม เนื้อหาทั้งหมดครับ แต่ผมเชื่อว่า มันสามารถที่จะนำทางให้หลายๆ คนได้

ป้ายกำกับ:

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

10 วิธีเพิ่ม PageRank สำหรับเว็บคุณ

10 วิธีเพิ่ม PageRank สำหรับเว็บคุณ

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับคำว่า  PageRank กันก่อนคะ

         Google PageRank  คือวิธีการวัดความสำคัญของเว็บเพจนับล้านๆเว็บเพจบนอินเตอร์เน็ท โดยมีตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 10 ยิ่งตัวเลขยิ่งสูง PageRank ก็ยิ่งสูง นั่นหมายความว่าเว็บไซต์นั้นๆมีโอกาสได้รับการจัดอันดับที่ดีกว่าเว็บไซ ต์ที่มี PageRank ต่ำกว่า

         โดยเราสามารถทราบค่า PR ของเว็บไซต์เราได้ โดย download และ install google toolbar (http://toolbar.google.com) หลังจากนั้นคุณจะสามารถดูคะแนน PR ของคุณที่จัดโดย google ได้ดังรูป

Google คำนวณค่า PR อย่างไร ?
         ค่า PR
(PageRank) ถูกคำนวณ โดยจำนวนลิงก์ของเว็บไซต์อื่นๆ ที่เชื่อมลิงก์มายังเว็บไซต์ของคุณ (Inbound Link) ทั้งนี้คำนึงถึงคุณภาพ (คุณภาพของลิงก์หมายถึง เว็บเพจที่ลิงก์มาหาคุณมีความเกี่ยวข้องและเกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาใน เว็บไซต์ของคุณ ) และค่า PR (PageRank) ของเว็บไซต์ที่ลิงก์มายังเว็บไซต์คุณด้วย ยิ่งเว็บไซต์ที่ลิงก์มาหาคุณมี PR (PageRank) สูงๆ ค่า PR (PageRank) ของเว็บคุณก็มีแนวโน้มที่จะสูงตามไปด้วย 

         ค่า PageRank นั้นใช้วิธีการเดียวกับระบบการโหวต หนึ่งลิงก์ที่เชื่อมโยงมายังเว็บไซต์ของคุณ ยิ่งมีค่า PR (PageRank) สูงเท่าใด Google ยิ่งเห็นความสำคัญของเว็บเพจนั้นๆมากยิ่งขึ้น และหากมีลิงก์มาจำนวนมากลิงก์มายังเว็บไซต์คุณ ค่า PR (PageRank) เว็บคุณก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
 

ทำอย่างไรถึงจะได้ค่า PR เพิ่มขึ้น ? 
         การเพิ่ม PR คงจะต้องใช้เวลาสักหน่อยวันนี้เราเลยมีวิธีดีๆในการเพิ่ม PR มาแนะนำกันคะ

1.
Search Engine Submission (SES) การทำการ submit เพื่อให้ Search Engines ต่างๆรู้จักกับเว็บไซต์ของเรา สำหรับบรรดา Search Engines หลักๆก็คือ Google, Msn, Yahoo, และ Search Engines อื่นๆเช่น โดยเฉพาะเจ้าพ่อแห่งวงการ อย่าง Google อย่าลืมที่จะ Submitนะคะ
 

2. Major Directory Submission  พวก Web Directory ก็มีมากมายหลายแบบหลายชนิด Directory ยอดนิยมที่ผู้คนให้ความสนใจที่สุดก็คงไม่พ้น พี่ DMOZ ซึ่งไม่รู้เป็นอะไร Submit ง่าย แต่อยู่ในระบบยาก แต่อย่าท้อกันนะคะ

3.
Paid & Free Directories Submission ของฟรี ยังมีในโลก โดยเฉพาะ Directories มากมายที่ให้เราได้ Submit Free และแบบเสียเงิน ซึ่งสามารถที่จะแยกออกตามหัวข้อต่างๆดังนี้
           Regular Link ฟรีไม่ ชัวร์ว่าจะได้อยู่ในระบบไหม
           Regular Link with Reciprocal อันก็ฟรีแต่ต้องลิงค์กลับให้เขาด้วย แต่มีแนวโน้มจะได้อยู่ในระบบสูง!
           Featured Link ได้แน่นอนคะ เร็ว และได้อยู่ในอันดับต้นๆเลย แต่เสียเงิน!
 

4. Signature  ลายเซ็นพิฆาต   หลายๆคนคงรู้จักทิปนี้แน่นอน

5.
Link Exchange แลกลิงค์กระจาย  เป็นการแลก Link ไปแลกกะเว็บชาวบ้านคะ

6.
BackLink for Sell ถึงเวลาต้องซื้อลิงค์  มีเว็บไซต์ทุนหนามากมาย ที่ต้องการให้เว็บไซต์ของตัวเองได้อยู่หน้าแรก อันดับแรกๆใน SERP ใน Keyword นั้นๆ การซื้อ Oneway Link จากเว็บไซต์ที่มีค่า PR สูงๆ ก็เป็นปัจจัยหลักๆในการสร้าง Link Popularity คะ

7.
Content is Everything เนื้อหาดี สาระดี ชีวิตก็ดีขึ้น   พวกเราคงเคยได้อ่าน Content is the King  ใช่แล้วคะ ถ้าเว็บไซต์ของเราเนื้อหาดีมีข่าวสารน่าติดตาม  ข้อมูลที่ดีและมีประโยชน์ต่อผู้เยี่ยมชม รับรองว่ารุ่งชั้วคะ

8.
Articles Submission บทความ เสริมสร้างบารมี  หัวข้อภาษาไทยอาจจะดูอลังการ (นิดนึง) แต่ของอย่างนี้ไม่เจอกับตัวคงไม่เชื่อแน่ๆ บทความดีๆ บางทีสามารถที่จะทำให้จำนวนผู้เยี่ยมชมสู่เว็บคุณมีมากมายถล่มถลายกันเลยคะ

9.
PPC Pay Per Click คลิกแล้วจ่าย(ได้คุ้มเสีย)  เจ้า PPC หรือ Pay Per Click เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ใน SEM ข้อดีของมันก็คือเราสามารถเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย ที่เราต้องการให้เข้าชมเว็บของเรา จุดสำคัญจริงๆแล้วไม่ได้อยู่ที่จะนำคนเข้ามาตามคลิกที่เกิดขึ้น

10.
Email Marketing โปรโมต เว็บผ่านอีเมล เป็นวิธีที่ได้ผลพอสมควรถ้าให้ดีควรทำแบบที่ไม่เข้า ข่าย Spam นะคะ เช่นเมลย์ไปแนะนำเว็บไซต์ใหม่ที่เราทำกับ Contact List เพื่อนๆหรือคนรู้จักของเราเท่านั้น ไม่ใช่เชิงพานิชย์ขายสินค้านะคะ สำคัญที่สุดก็คือ เว็บไซต์ที่ติด Adsense โปรดระวังอาจโดนแบนได้นะคะแนะว่าไม่น่าใช้ถึงไม่น่าใช้ที่สุดคะ

ที่มา http://web.ofebia.com/contents/view/158.htm

ป้ายกำกับ: